บทความ > เนื้อผ้าเบรค / ผ้าเบรก มีกี่ชนิด?
เนื้อผ้าเบรค / ผ้าเบรก มีกี่ชนิด?
ในกลุ่มโรงงานผลิตได้แบ่ง เนื้อผ้าเบรค / ผ้าเบรก ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. Organic type (ประเภทอินทรีย์)
1.1 ASBESTOS (เนื้อใยหิน)
1.2 NON ASBESTOS (เนื้อไม่ใช่ใยหิน) โดยในกลุ่มนี้จะประกอบด้วยเนื้อผ้าเบรค 3 ชนิด NAO (เนื้ออินทรีย์ + โลหะ 0-9%), LOW-METALLIC (เนื้ออินทรีย์ + โลหะ 10-49%), SEMI-METALLIC (เนื้ออินทรีย์ + โลหะ 50% ขึ้นไป)
2. Metallic type (ประเภทโลหะ)
2.1 SINTERED (เนื้อผงโลหะ)
3. Inorganic type (ประเภทอนินทรีย์)
3.1 PRE-CERAMIC / CARBON (เนื้อพรี-เซรามิก / เนื้อคาร์บอน)
สรุปได้ว่า เนื้อผ้าเบรค / ผ้าเบรก จะมีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด
1. ASBESTOS (เนื้อใยหิน)
เป็นผ้าเบรคยุคเก่าที่ใช้สารใยหินเป็นองค์ประกอบหลัก ปัจจุบันผู้ผลิตผ้าเบรคระดับสากลของโลกได้ยกเลิกการผลิตไปแล้ว ตามข้อบังคับทางกฎหมาย สิ่งแวดล้อมและมาตรฐานของอุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากมีสารก่อมะเร็ง
ข้อดี
- ราคาถูก
- ทำงานได้ดีตั้งแต่ขณะที่ผ้าเบรคอุณหภูมิไม่สูง จนกระทั่งสูง
- ระบายความร้อนได้ระดับปานกลาง
- เนื้อผ้าเบรคจะหมดช้า
- ระยะเบรคสั้นลง
- เหมาะกับการขับขี่ทั่วไป จนถึงการเบรคที่รุนแรง
ข้อเสีย
- ฝุ่นเยอะ แต่จะเป็นฝุ่นสีขาว
- มีเสียง
- กินจานเบรค
- มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก
2. NAO ย่อมาจาก NON ASBESTOS ORGANIC (เนื้ออินทรีย์)
เป็นกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบประกอบด้วยเส้นใยสังเคราะห์ต่างๆ ได้แก่ เส้นใยเคฟลาร์, เส้นใยเซรามิก, ยาง, แก้ว ฯลฯ เชื่อมต่อกับเรซิน อาจจะมีใยเหล็ก น้อยกว่า 10% ผสมอยู่ด้วย ซึ่งเนื้อผ้าเบรคชนิดนี้ เป็นชนิดเดียวกับที่ใช้ในผ้าเบรคแท้ OEM (ใช้งานได้ดีที่อุณหภูมิน้อยกว่า 200 ℃ เบรคเฟดหรือจางลงที่อุณหภูมิประมาณ 300-400 ℃)
ข้อดี
- ราคาถูก
- ฝุ่นน้อย
- ไม่มีเสียง
- กินจานเบรคน้อยมาก
- เหมาะกับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล, รถแท็กซี่ ที่ไม่ได้ใช้ความเร็วสูง
ข้อเสีย
- ทำงานได้ดีเฉพาะขณะที่ผ้าเบรคอุณหภูมิไม่สูง
- ระบายความร้อนได้น้อย
- เนื้อผ้าเบรคจะหมดเร็ว
- ระยะเบรคยาว
3. LOW-METALLIC (เนื้อโลหะต่ำ)
เป็นกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบประกอบด้วยเส้นใยสังเคราะห์ NAO, ใยเหล็ก ได้แก่ เหล็กกล้า, เหล็ก, ทองแดง และโลหะชนิดอื่นๆ 10-49% รวมเข้ากับน้ำมันหล่อลื่นกราไฟท์แล้วเติมสารเพิ่มแรงเสียด
ข้อดี
- ราคาปานกลาง
- ทำงานได้ดีตั้งแต่ขณะที่ผ้าเบรคอุณหภูมิไม่สูง จนกระทั่งสูง
- ระบายความร้อนได้ดีกว่าแบบ NAO
- เนื้อผ้าเบรคจะหมดช้ากว่าแบบ NAO
- ระยะเบรคสั้นลงกว่าแบบ NAO
- เหมาะกับรถยุโรปที่ใช้ความเร็วและต้องการความนุ่มนวลขณะเหยียบเบรค, รถที่ใช้งานบรรทุกของหนักๆ ปิ๊กอัพ (PICK-UP), เอสยูวี (SUV)
ข้อเสีย
- ฝุ่นเยอะ
- มีเสียง
- กินจานเบรคกว่าแบบ NAO
4. SEMI-METALLIC (เนื้อกึ่งโลหะ)
เป็นกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบประกอบด้วยเส้นใยสังเคราะห์ NAO, ใยเหล็ก ได้แก่ เหล็กกล้า, เหล็ก, ทองแดง และโลหะชนิดอื่นๆ 50%ขึ้นไป รวมเข้ากับน้ำมันหล่อลื่นกราไฟท์แล้วเติมสารเพิ่มแรงเสียด (ใช้งานได้ไม่ดีที่อุณหภูมิน้อยกว่า 100 ℃, ใช้งานได้ดีที่อุณหภูมิมากกว่า 200 ℃ เบรคเฟดหรือจางลงที่อุณหภูมิประมาณ 450-700 ℃)
ข้อดี
- ราคาปานกลาง
- ทำงานได้ดีตั้งแต่ขณะที่ผ้าเบรคอุณหภูมิไม่สูง จนกระทั่งสูง
- ระบายความร้อนได้ดีกว่าแบบ LOW-METALLIC
- เนื้อผ้าเบรคจะหมดช้ากว่าแบบ LOW-METALLIC
- ระยะเบรคสั้นลงกว่าแบบ LOW-METALLIC
- เหมาะกับรถบรรทุก (Truck), รถบัส (Bus), รถตู้ (Van), รถขับเคลื่อน 4 ล้อ (4WD), รถที่ขับขึ้นลงภูเขาเป็นประจำ
ข้อเสีย
- ฝุ่นเยอะ
- มีเสียง
- กินจานเบรคกว่าแบบ LOW-METALLIC
5. SINTERED (เนื้อผงโลหะ)
เป็นกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบประกอบด้วยผงเหล็กละเอียดมาขึ้นรูปด้วยเทคนิคการซินเทอร์ริง (Sinter) ซึ่งเป็นการอัดขึ้นรูป ที่แรงดันสูง และ อุณหภูมิสูงปานกลาง
ข้อดี
- ทำงานได้ดีตั้งแต่ขณะที่ผ้าเบรคอุณหภูมิไม่สูง จนกระทั่งสูงมาก
- ระบายความร้อนได้ดีกว่าแบบ SEMI-METALLIC
- เนื้อผ้าเบรคจะหมดช้ากว่าแบบ SEMI-METALLIC
- ระยะเบรคสั้นลงกว่าแบบ SEMI-METALLIC
- เหมาะกับการขับขี่ที่ต้องการให้หยุดทันที รถที่ใช้แข่งขัน, รถที่ใช้ความเร็วสูง
ข้อเสีย
- ราคาแพง
- ฝุ่นเยอะ
- มีเสียง
- กินจานเบรคกว่าแบบ SEMI-METALLIC
6. PRE-CERAMIC / CARBON (เนื้อพรี-เซรามิก / เนื้อคาร์บอน)
เป็นกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบประกอบด้วยเซรามิกที่คล้ายกับเซรามิกที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา แต่มีความหนาแน่นและทนทานกว่ามาก ผสมกับใยเหล็ก ได้แก่ ทองแดง
ข้อดี
- ทำงานได้ดีตั้งแต่ขณะที่ผ้าเบรคอุณหภูมิไม่สูง จนกระทั่งสูงมาก
- เนื้อผ้าเบรคจะหมดช้า
- ระยะเบรคสั้นลง
- ฝุ่นน้อย
- ไม่มีเสียง
- ไม่กินจานเบรค
- เหมาะกับเครื่องบิน, รถไฟความเร็วสูง ที่ไม่ได้มีการใช้เบรคบ่อยๆ
ข้อเสีย
- ราคาแพงมาก
- ทำงานได้ไม่ดีขณะที่ผ้าเบรคอุณหภูมิต่ำ เช่น ประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นมาก
- ระบายความร้อนได้ไม่ดี
ตารางเปรียบเทียบเนื้อผ้าเบรคแต่ละชนิด
*** ในส่วนของคุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสีย ของเนื้อผ้าเบรคแต่ละชนิดในบทความนี้ เป็นข้อมูลกว้างๆ ที่ช่วยในการตัดสินใจบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากในส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรคแต่ละยี่ห้อที่มีขายตามท้องตลาด จะมีความแตกต่างกันออกไปในเนื้อผ้าเบรคชนิดเดียวกัน ซึ่งเป็นความลับเฉพาะของผ้าเบรคแต่ละยี่ห้อ ***
สามารถอ่านศึกษาวิธีการเลือกซื้อผ้าเบรคเพิ่มเติมได้จากบทความ วิธีการเลือกซื้อผ้าเบรคให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ติดต่อสอบถาม สั่งซื้อสินค้า
โทร : 089-784-3981